บิดาแห่งสหกรณ์

บิดาแห่งสหกรณ์

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์




พระอิสริยยศพระราชวรวงศ์เธอ
ฐานันดรศักดิ์พระองค์เจ้าชั้นโท
ราชวงศ์จักรี
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติ10 มกราคม พ.ศ. 2419
สิ้นพระชนม์23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (69 ปี)
พระราชบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาเลี่ยมเล็ก
ชายาหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี
หม่อมหม่อมพัฒน์ รัชนี ณ อยุธยา
พระบุตร11 องค์
หาอำมาตย์โท พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือนามปากกว่า น.ม.ส. (10 มกราคม พ.ศ. 2419 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล"รัชนี"[1] สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน

พระประวัติ[แก้]

พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ธิดานายสุดจินดา (พลอย ชูโต) [2] ประสูติเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 ในพระบวรราชวัง มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์ คือ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา (พ.ศ. 2414 - 2442)
เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา 5 ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2429 และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. 2436 จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ 16 ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ทรงผนวชเป็นสามเณร โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระเมธาธรรมรส (อ่อน อหึสโก) เป็นพระศีลาจารย์[3]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา 2 ปี เสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2442
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ โปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2470

พระกรณียกิจ[แก้]

พ.ศ. 2442 ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี
พ.ศ. 2444 ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์
วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นองคมนตรี[4] และในวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ทรงสถาปนาเป็นพระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงศักดินา 11000[5]
พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"

การสหกรณ์ไทย[แก้]

ทรงดำริให้จัดสร้างสหกรณ์วัดจันทร์ สหกรณ์แห่งแรกของไทย[ต้องการอ้างอิง]

พระนิพนธ์[แก้]

ปกนิทานเวตาล ฉบับแปลโดย น.ม.ส.
ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากตัวอักษรท้ายพระนามเดิม รัชนี แจ่ม จรัส ทรงมีผลงานตีพิมพ์ (บางส่วน) ได้แก่

พระโอรส-ธิดา[แก้]

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ และ หม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ รัชนี (วรวรรณ) พระชายา
ตราประจำพระองค์ และเป็นตราประจำราชสกุล รัชนี

หม่อมพัฒน์ บุนนาค[แก้]

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทำพิธีอาวาหะมงคล กับคุณพัฒน์ บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. 2444 มีพระโอรส-ธิดา คือ

หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ วรวรรณ[แก้]

เมื่อหม่อมพัฒน์ อนิจกรรมแล้ว ทรงเสกสมรสใหม่ กับหม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ วรวรรณ พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เมื่อ พ.ศ. 2462 มีพระโอรส-ธิดา คือ

พระโอรส-ธิดา เรียงตามพระประสูติกาล[แก้]

  1. หม่อมเจ้าหญิงจันทร์เจริญ (พ.ศ. 2445 - ?) [6]
  2. หม่อมเจ้าศะศิเพลินพัฒนา รัชนี
  3. หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (21 ก.ค. 2453 - 29 พ.ย. 2534)
  4. หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์พิทยาลงกรณ์ รัชนี
  5. หม่อมเจ้าศะศิธรพัฒนวดี รัชนี (18 มิ.ย. 2457 - 28 มิ.ย. 2549)
  6. หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์โมฬีจุฑาพงศ์ รัชนี (12 มิ.ย. 2459 - 8 มิ.ย. 2535)
  7. หม่อมเจ้าวิภาวดี รัชนี (20 พ.ย. 2463 - 16 ก.พ. 2520)
  8. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี (20 ม.ค. 2464 -)
  9. หม่อมเจ้าจันทร์จิรกาล รัชนี
  10. หม่อมเจ้าชาย
  11. หม่อมเจ้าจันทร์จรัส รัชนี (? - 28 ธ.ค. 2450)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
พระชนก:
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าคุณจอมมารดาเอม
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระยาศิริไอยศวรรค์ (ฟัก)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
ไม่ทราบนาม
พระชนนี:
จอมมารดาเลี่ยมเล็ก ชูโต
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
นายสุดจินดา (พลอย ชูโต)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
จมื่นศรีสรรักษ์ (ถัด ชูโต)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบนาม
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท่านนิ่ม สวัสดิ์-ชูโต
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
คุณเปี่ยม บุนนาค
(ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค))

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บิดาแห่งสังคมวิทยา

บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์