บิดาแห่งสังคมวิทยา

บิดาแห่งสังคมวิทยา

บิดาแห่งสังคมวิทยา
เอมิล   เดอร์กไฮม์


หากกล่าวถึง  บิดาแห่งสังคมวิทยา  เราอาจจะพอนึกภาพออก  เพราะพวกเขาเหล่านี้ได้รับการยอมรับในสังคมอย่างกว้างขว้าง  หรือแถบจะทุกพื้นที่บนโลกนี้ก็ได้  และคงไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก     หากจะกล่าวถึงสามนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ทางสังคมศาสตร์อย่าง  คาร์ล  มากร์ซ์  (Karl  Marx)  แม็ก เวเบอร์ (Max  Weber)  และที่เราสนใจจะนำเสนอในครั้งนี้คือ  เอมิล  เดอร์กไฮม์  (Emile  Durkheim)

          เอมิล  เดอร์กไฮม์  เกิดเมื่อ  ค.ศ.1858  และเสียชีวิตเมื่อ  ค.ศ.1917  เดอร์กไฮม์  เป็นนักคิดชาวฝรั่งเศส  เขาเกิดมาในช่วงที่ยุดอุตสาหกรรมเฟื่องฟู  การเมืองการปกครองสับสนและวุ่นวาย  คนต่างเป็นปัจเจกสูง  เขาหวาดกลัวและเกลียดความไร้ระเบียบของสังคม  และนี้คือสิ่งที่ทำให้เขาทุ่มเทศึกษาเกี่ยวกับสังคม
          ในทัศนะของเดอร์กไฮม์  เขามองว่า  สังคมที่จะเป็นโลกสมัยใหม่ไม่จำเป็นที่จะต้องขาดความไร้ระเบียบแต่อย่างใด เช่น  การนัดหยุดงานของอุตสาหกรรม  การต่อต้านทางการเมือง  ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงนั้น เป็นต้น
          ข้อเท็จจริงทางสังคม”  (Social  facts)  เป็นสิ่งที่เดอร์กไอม์ใช้อธิบายสังคม  และที่เดอร์กไฮม์เน้นในตรงที่นี้คือ  แรงยึดเหนี่ยวทางสังคม (social  solidarity) , บรรทัดฐาน(norm) ,สำนึกร่วม(collective consciousness) ,ศาสนา ,การแบ่งงานกันทำ 
          ข้อเท็จจริงทางสัมคมแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ  1. รูปธรรม(material  social  facts)  เช่น  การแบ่งงานกันธรรม  และ  2.  นามธรรม  (nonmaterial  social  facts)  เช่น  สำนึกร่วม  ศีลธรรม
          ข้อเท็จจริงทางสังคม  คือ  สิ่งที่อยู่ภายนอกปัจเจกแต่ละคน และเป็นสิ่งที่มีอำนาจมีพลังบังคับควบคุมปัจเจก มีขอบเขตกว้างขว้าง  เช่น  ความเชื่อทางศีลธรรมที่มีอยู่ร่วมกันและมีอิทธิพลของสถาบัน  ทำให้ปัจเจกเกิดความเคยชิน  เชื่อ  ยอมรับ  เข้าใจร่วมกัน  จนเกิดแรงยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในสังคม
          ตัวอย่าง ประเพณีบุญบั้งไฟที่จังหวัดยโสธร  เป็นประเพณีขอฝนของชาวยโสธรที่มีมาแต่อดีต  ชาวยโสธรทุกคนหรือหลายคนที่ไปทำงานต่างถิ่นจะเดินทางกลับบ้านเพื่อไปร่วม
งานบุญบั้งไฟนี้  ประเพณีนี้ไม่เพียงแต่เป็นการทำบุญอย่างเดียวแต่ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนในชุมชน  ครอบครัว  กลับมารวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์  จากที่ห่างกันเพื่อไปทำมาหากิน  นี้แหล่ะคือ  ข้อเท็จจริงทางสังคม
          หากทุกคนมีสำนึกร่วมในสิ่งเดียวกันแล้ว  การกระทำการใดๆก็คงจะดำเนินไปได้ด้วยดี  เช่น การใส่ชุดขาวหรือดำไปงานศพ  การขึ้นลงบันไดแล้วชิดซ้ายทำให้ไม่เกิดปัญหาในการสวนทางกันหรือเดินชนกัน  ก็เป็นสำนึกร่วมที่เป็นข้อเท็จจริงทางสังคม   จากตัวอย่างที่กล่าวมา  คุณคิดว่าแนวคิดของ  เอมิล  เดอร์กไฮม์  จะทำให้สังคมของเราอยู่กันอย่างเป็นระเบียบขึ้นหรือไม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บิดาแห่งสหกรณ์

บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์